โอนเงิน PayPal เข้าบัญชีไทย เปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง อัตราแลกเปลี่ยนและค่าธรรมเนียมเท่าไหร่

Ken Thongyuthakarn

เป็นที่ทราบกันดีว่า การทำธุรกรรมทางการเงินบนโลกออนไลน์เป็นที่แพร่หลาย และเนื่องจากสังคมที่ปรับเปลี่ยนไปอยู่บนโลกออนไลน์มากขึ้น การทำธุรกรรมทางการเงิน เช่น การชำระเงิน การโอนเงินและการรับเงินต่างประเทศผ่านออนไลน์ก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเช่นกัน PayPal เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการโอนเงินระหว่างประเทศที่สามารถตอบโจทย์ผู้ใช้ได้ดี ทว่า การทำธุรกรรมทางการเงินของ  PayPal เริ่มหยุดชะงักจนอาจทำให้ผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะผู้เปิดใช้งานก่อนวันที่ 7 มีนาคม 2564 ไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป PayPal มีข้อจำกัดและการใช้งานที่ยุ่งยาก และค่าธรรมเนียม PayPal แพงมากขึ้นจริงหรือไม่ ลองหาคำตอบกัน

send-money-to-thailand

หลักเกณฑ์การโอนเงินผ่าน Paypal ในประเทศไทย

เมื่อ PayPal เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงิน การโอนเงินและถอนเงินผ่านจึงมีประเด็นที่ทำให้ผู้ใช้งาน Paypal พบกับความยุ่งยากในการใช้งานมาช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยเฉพาะผู้รับจ้างอิสระ ผู้ขายทั่วไปและผู้ประกอบการหรือเจ้าของกิจการ เนื่องด้วย ข้อบังคับทางภาษี e-service จากรัฐบาลไทย  PayPal จำต้องออกข้อบังคับที่ทำให้เจ้าของบัญชีจะต้องยอมรับและยินยอมตามสัญญาและเงื่อนไขบริการ ก่อนเข้าใช้บริการภายใต้ Paypal ประเทศไทยได้อีกครั้ง โดยการเปลี่ยนแปลงหลัก ๆ จะมีดังนี้

  • ผู้ใช้งานทุกคนจะต้องยืนยันตัวตนผ่านแพลตฟอร์ม NDID (National Digital ID)²

  • Paypal อนุญาตให้ผู้ใช้บริการบัญชีบุคคลธรรมดาในประเทศไทยเฉพาะผู้ที่ถือสัญชาติไทยที่มีเลขบัตรประชาชน 13 หลักเท่านั้น 

  • การทำธุรกรรมผ่าน PayPal ของผู้ใช้บัญชีเดิมจะถูกจำกัดวงเงินในรอบ 28 วัน สำหรับการชำระสินค้าและบริการต่าง ๆ นอกประเทศไทยอยู่ที่ 50,000 บาท

  • ผู้ใช้บริการต้องเสียค่าภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7% ถึงแม้ผู้เปิดบัญชีไม่ได้จดเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็ตาม

  • ผู้ใช้บัญชีบุคคลธรรมดาไม่สามารถโอนเงินและรับเงินโอนจากครอบครัวและเพื่อนได้อีกต่อไป รวมทั้ง การเติมเงินเข้าบัญชี PayPal เพื่อชำระสินค้าก็ไม่สามารถทำได้เช่นกัน โดยผู้ใช้งานต้องชำระสินค้าด้วยบัตรเครดิตหรือเดบิตที่เชื่อมโยงกับบัญชี PayPal 

  • อนุญาตให้ถอนเงินเข้าบัญชีในสกุลเงินที่เชื่อมต่อในบัญชี PayPal เท่านั้น โดยการชำระเงินเชิงพาณิชย์ในประเทศไทยให้ชำระเป็นสกุลเงินบาท สำหรับการชำระเงินเชิงพาณิชย์ระหว่างประเทศยังชำระสกุลเงินอื่น ๆ ได้ โดยการแปลงสกุลเงินบาทเป็นสกุลเงินต่างประเทศและมียอดจำกัดอยู่ที่ 800,000 บาท ต่อวัน

ล่าสุดผู้ที่ยืนยันตัวตนผ่านแพลตฟอร์ม NDID ได้โยกย้ายมาใช้งานบัญชี PayPal ประเทศไทยเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 15  ธันวาคม 2565 ซึ่งผู้ใช้งานสามารถใช้บริการได้ตามเงื่อนไขและความเปลี่ยนแปลงใหม่ แต่หากคุณไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวภายในเวลากำหนด บัญชี PayPal ที่มีอยู่ก็จะถูกจำกัดความสามารถลงอย่างมาก แต่หากยังต้องการใช้บริการโอนเงินของ PayPal ก็ต้องลงทะเบียนเพื่อเปิดบัญชีใหม่ประเภทใดประเภทหนึ่งดังต่อไปนี้

  • บัญชีบุคคล PayPal ประเทศไทย (บุคคลธรรมดาในประเทศไทย)

  • บัญชีธุรกิจ PayPal ประเทศไทย (ธุรกิจที่จดทะเบียนในประเทศไทยเป็นนิติบุคคล

การโอนเงินและถอนเงินผ่าน PayPal มีข้อจำกัดการใช้งานมากขึ้นซึ่งทำให้ผู้ใช้บริการโอนเงินต่างประเทศมองหาทางเลือกอื่นที่เหมาะสมและค่าธรรมเนียมไม่แพง เช่น Wise หรือการทำธุรกรรมผ่านธนาคารท้องถิ่นแทนการจ่ายค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้นแต่สะดวกสบายน้อยลง

จะส่งเงินไปไทยใช่รึเปล่า? สังเกตอัตราแลกเปลี่ยนของ PayPal ให้ดีด้วยนะ

เดี๋ยวเราจะอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมการโอนเงินของ PayPal ให้ฟัง แต่ก่อนอื่น เรามาดูค่าบริการอันหนึ่งที่ PayPal เรียกเก็บกันก่อน ค่านี้จะมีส่วนที่ทำให้เกิดข้อแตกต่างเมื่อส่งเงินไปต่างประเทศ หรือส่งเงินกลับบ้าน - ซึ่งนั่นก็คือ ค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินของ PayPal

เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณแปลงสกุลเงินด้วย PayPal ไม่ว่าจะเป็นจากในยอดคงเหลือในบัญชีของคุณเอง หรือเมื่อส่งเงินไปต่างประเทศ จะมีค่าใช้จ่ายการแปลงสกุลเงินที่ PayPal เรียกเก็บซึ่งอาจจะมากถึง 4% ของมูลค่าธุรกรรม เมื่อเป็นแบบนี้ก็จะเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ต้องเสียในหนึ่งธุรกรรม และอาจทำให้ผู้รับได้รับเงินน้อยกว่าที่คิดเอาไว้

ลองหันมาเทียบกับ Wise ดูบ้าง ทาง Wise ได้เสนอการชำระเงินระหว่างประเทศซึ่งใช้อัตราแลกเปลี่ยนกลางของตลาด อัตรานี้เป็นอัตราเดียวกับที่คุณเห็นใน Google และจะไม่มีการบวกค่าอะไรเพิ่มในอัตรานี้ โดยที่ทาง Wise จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการโอนอย่างโปร่งใส ตรงไปตรงมา ซึ่งอาจจะดีกว่าสำหรับคุณและคนที่จะส่งเงินไปให้

The true cost of sending USD to THB

หมายเหตุ: ปัจจุบัน Wise ยังไม่มีให้บริการเป็นภาษาไทย แต่สามารถใช้งานได้ในอีก 16 ภาษา ซึ่งรวมทั้งภาษาอังกฤษ, อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น และอื่นๆเลือกภาษาที่คุณต้องการใช้งานได้จากหน้าแรกของ Wise ที่มุมขวาบน

ค่าธรรมเนียมการใช้บริการ Paypal

บริการ PayPal ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเท่าไหร่ เป็นคำถามที่เราคงเคยได้ยินกันบ่อยครั้ง ค่าธรรมเนียม PayPal แบ่งออกเป็น 2 ประเภท³

  • ค่าธรรมเนียมสำหรับผู้บริโภค เป็นการใช้งานของบัญชีบุคคลธรรมดาที่ต้องการซื้อสินค้าผ่านบัตรเครดิตและเดบิต ซึ่ง PayPal จะไม่เก็บค่าธรรมเนียมการชำระซื้อสินค้า เว้นแต่จะมีการแปลงสกุลเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ในแง่ของการซื้อสินค้าจากต่างประเทศผ่าน PayPal ด้วยบัตรเครดิตหรือเดบิต คงจะเป็นไปไม่ได้ที่จะหลีกหนีเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเนื่องจากมีการแปลงเงินไทยเป็นเงินสกุลอื่นทุกครั้งก่อนที่เราจะซื้อสินค้าจากต่างประเทศและค่าเงินที่แปลงนั้นก็เปรียบเสมือนค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายนั่นเอง
สกุลเงินอัตราที่สูงกว่าอัตราแลกเปลี่ยนพื้นฐาน (เพื่อคิดอัตราแลกเปลี่ยนในการทำรายการ)
AUD, BRL, CAD, CZK, DKK, EUR, HKD, HUF, ILS, JPY, MYR, MXN ,TWD, NZD, NOK, PHP, PLN, RUB, SGD, SEK, CHF, THB, GBP, USD4%
การแปลงสกุลเงินอื่น ๆ ทั้งหมด3%
  • ค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ค้า การทำธุรกิจในเชิงพาณิชย์ทั้งการซื้อหรือจำหน่ายสินค้าของผู้ใช้งานประเภทบัญชีธุรกิจจะมีค่าธรรมเนียมเกิดขึ้นเสมอเมื่อมีการเรียกเก็บเงิน เรียกว่า “การทำรายการเชิงพาณิชย์” โดย PayPal เรียกเก็บค่าธรรมเนียมทั้งภายในประเทศและต่างประเทศจากผู้ค้าอยู่ที่ 3.90% - 4.40% รวมทั้งมี ค่าธรรมเนียมคงที่ ตามสกุลเงินได้รับ ด้วยต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ผู้ค้าอาจบวกค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้นรวมไปในราคาสินค้าจนทำให้สินค้ามีราคาแพงขึ้น

ค่าธรรมเนียมการถอนเงินจาก Paypal 

โดยทั่วไป Paypal อนุญาตให้ผู้ใช้บริการถอนเงินไปยังบัญชีธนาคารที่ผู้ใช้เปิดการเชื่อมโยงเอาไว้และต้องถอนเป็นเงินบาทไทย ถ้าต้องการถอนยอดคงเหลือในสกุลเงินอื่น คุณจะต้องแปลงสกุลเงินเป็นเงินบาทไทยก่อนโอนเงินเข้าบัญชีในประเทศไทย หรือไม่เช่นนั้นทาง PayPal จะแปลงเป็นสกุลเงินให้คุณขณะกำลังถอนเงิน โดยจะมีการใช้อัตราแลกเปลี่ยนในขณะทำรายการของ PayPal รวมถึงมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินที่มีอัตราสูงกว่าอัตราแลกเปลี่ยนพื้นฐาน⁴ 

ประเภทการถอนเงินหรือโอนเงินไปยังบัญชีธนาคารจากบัญชี PayPal

ประเภทการถอน/ โอนเงินค่าธรรมเนียม
ถอนเข้าบัญชีธนาคารไทยมูลค่า 5,000 บาทหรือมากกว่าไม่มีค่าธรรมเนียม
ถอนเข้าบัญชีธนาคารไทยมูลค่าน้อยกว่า 5,000 บาทค่าธรรมเนียม 50 บาท
การถอนเงินเข้าบัญชีสหรัฐอเมริกาค่าธรรมเนียม 50 USD

การคิดค่าธรรมเนียมการถอนเงินดังกล่าวยังไม่รวมกรณีมีการแปลงสกุลเงิน ซึ่งการชำระค่าใช้จ่ายหรือการทำรายการเชิงพาณิชย์ใด ๆ ที่มีการคืนเงินมักจะคิดค่าธรรมเนียมใน อัตราแลกเปลี่ยนแพงกว่า อัตราแลกเปลี่ยนพื้นฐานเสมอ

นอกจากค่าธรรมเนียมดังกล่าว ยังมีค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เช่น ค่าธรรมเนียมจากการพยายามถอนเงินแต่ไม่สำเร็จ ค่าธรรมเนียมจากการเชื่อมโยงบัตรเครดิตและบัตรเดบิต ค่าธรรมเนียมชำระเงินหลังจากทำเรื่องขอคืนเงิน ค่าธรรมเนียมการร้องขอข้อมูล เป็นต้น

สรุป

ถึงแม้การชำระเงินด้วย PayPal จะมีชื่อเสียงมาอย่างยาวนาน แต่เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก็อาจทำให้ผู้ใช้บริการมีความรู้สึกถึงความไม่แน่นอน บางส่วนของผู้ใช้บริการ Paypal ยังได้รับประสบการณ์ที่ไม่ประทับใจนัก อีกทั้งค่าธรรมเนียม PayPal ที่มีการจัดเก็บหลายส่วน เหล่านี้อาจเป็นเหตุผลว่าทำไมผู้ใช้บริการหันไปมองทางเลือกอื่นในการโอนเงินต่างประเทศมากขึ้น อย่างไรก็ตาม หากต้องการความช่วยเหลือจากการใช้งานบัญชี PayPal สามารถคลิกอ่านข้อมูลเบื้องต้นได้ ที่นี่ หรือ ติดต่อ ฝ่ายบริการลูกค้า

secure-fast-transfers-to-thailand


แหล่งที่มา
  1. สัญญาผู้ใช้บริการ PayPal
  2. การยืนยันตัวตนผ่านแพลตฟอร์ม NDID
  3. ค่าธรรมเนียม PayPal
  4. การแปลงสกุลเงิน

ตรวจสอบแหล่งที่มาแล้ว 20/12/2022


*โปรดดูข้อกำหนดการใช้งานและผลิตภัณฑ์ที่พร้อมใช้งานในภูมิภาคของคุณ หรือไปที่หน้าค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายของ Wiseเพื่อดูข้อมูลราคาและค่าธรรมเนียมล่าสุด

การเผยแพร่นี้จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น และไม่ถือเป็นคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย ภาษี หรือมืออาชีพด้านอื่นๆ จาก Wise Payments Limited หรือบริษัทในเครือและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงไม่ได้มีไว้เพื่อเป็นการอิงข้อมูลแทนผู้ให้คำปรึกษาด้านการเงินหรือมืออาชีพด้านอื่นๆ

เราไม่รับรอง รับประกัน หรือการันตี ไม่ว่าโดยชัดแจ้งหรือโดยนัย ว่าเนื้อหาในการเผยแพร่นี้ถูกต้อง สมบูรณ์ หรือเป็นปัจจุบัน

เงินไร้พรมแดน

เรียนรู้เพิ่มเติม
การเงินส่วนบุคคล

4 วิธีโอนเงินจากต่างประเทศมาไทย

หากคุณกำลังสงสัยว่าวิธีโอนเงินจากต่างประเทศมาไทยทำอย่างไร หรือ โอนเงินจากต่างประเทศมาไทยใช้เวลากี่วัน? คู่มือนี้มีคำตอบทั้งหมดให้แก่คุณ

Hannes Ausmees
15.09.23 เวลาการอ่าน 11 นาที
การเงินส่วนบุคคล

เรียนรู้วิธีโอนเงินจากต่างประเทศมาไทยเข้าบัญชีกรุงไทย: ขั้นตอนและค่าธรรมเนียมที่คุณต้องรู้

ข้อมูลวิธีรับเงินโอนจากต่างประเทศมายังไทยเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย พร้อมขั้นตอนและค่าธรรมเนียมที่จะช่วยคุณรับเงินได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย คลิกเพื่ออ่านเพิ่มเติม!

Hannes Ausmees
07.06.23 เวลาการอ่าน 8 นาที
การเงินส่วนบุคคล

รับเงินโอนจากต่างประเทศมาไทย: ตัวเลือกที่คุณควรพิจารณา

หากคุณต้องการรับเงินโอนจากต่างประเทศมายังประเทศไทยอย่างรวดเร็วและปลอดภัย ในบทความนี้เราจะแนะนำตัวเลือกที่คุณควรพิจารณา อ่านต่อเพื่อค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม!

Hannes Ausmees
07.06.23 เวลาการอ่าน 9 นาที
การเงินส่วนบุคคล

โอนเงินต่างประเทศมาไทย รับเงินโอนเข้ากสิกรไทย ยุ่งยากหรือไม่

โอนเงินต่างประเทศมาไทย รับเงินโอนจากต่างประเทศมาไทยแบบไหนดี บริการโอนเงินระหว่างประเทศ ค่าธรรมเนียมต่ำ

Hannes Ausmees
02.05.23 เวลาการอ่าน 8 นาที
การเงินส่วนบุคคล

วิธีเติมเงิน PayPal เพิ่มเงินเข้าบัญชี PayPal ในประเทศไทยทำได้หรือไม่

วิธีเติมเงินเข้า PayPal ด้วยบัตร True Money กระเป๋าเงิน True Wallet ทำได้หรือไม่ เพิ่มเงินในบัญชี PayPal ยังไงให้ปลอดภัยและไร้กังวล

Ken Thongyuthakarn
19.01.23 เวลาการอ่าน 5 นาที
การเงินส่วนบุคคล

โอนเงินไปต่างประเทศผ่านธนาคารกสิกรจากไทยไปทั่วโลก

โอนเงินต่างประเทศธนาคารกสิกร โอนเงินข้ามประเทศค่าธรรมเนียมสุดคุ้ม รวดเร็ว ปลอดภัย รับเงินไวเอกสารไม่ยุ่งยาก KBank บริการโอนเงินระหว่างประเทศ ง่าย ๆ ได้ทันที

Ken Thongyuthakarn
20.12.22 เวลาการอ่าน 8 นาที

เคล็ดลับ ข่าว และข้อมูลอัปเดตสำหรับตำแหน่งของคุณ